บทความ

ในปี พ.ศ.2553 การส่งออกเครื่องมือกลของประเทศไทย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีก่อน ถึงร้อยละ 78 คือเป็นมูลค่า 14,914 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียเป็นจำนวนมาก เช่น ประเทศญี่ปุ่น จีน อินเดีย เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และลาว

ในปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยส่งออกเครื่องจักรกลทางการเกษตรรวมทั้งสิ้น 8,535 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ลุ่มแม่น้ำโขง และประเทศในแถบเอเชีย โดยประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่ไทยส่งออกไปมากที่สุด

การผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2539 มีมูลค่า 53,626 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2549 มีมูลค่า 138,770 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยเพียงละ ร้อยละ 10 ต่อปี สำหรับการส่งออกไปต่างประเทศ มีสัดส่วนที่สูง ซึ่งเติบโตถึง ร้อยละ 21 ต่อปี สวนทางกับการนำเข้า ซึ่งมีอัตราเติบโตค่อนข้างต่ำ เพียงร้อยละ 3 ต่อปี

การผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรมีมูลค่า 3,900 ล้านบาท จากข้อมูลปี พ.ศ.2539 และเพิ่มขึ้นเป็น 32,339 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2549 ซึ่งเติบโตมากถึงร้อยละ 24 ต่อปี เครื่องจักรกลที่ไทยผลิต สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ด้วย

ข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ระบุว่ามีโรงงานผลิตเครื่องจักรกลทั้งหมด 3,109 โรงงาน        (ข้อมูลในปีพ.ศ. 2553) เงินทุนรวม 62,317 ล้านบาท มีการจ้างแรงงาน 75,051 คน โดยที่ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ซึ่งมีความสามารถในการซ่อมและดัดแปลงเครื่องจักรกลเป็นอย่างดี

กลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ประกอบด้วยอุตสาหกรรมงานโลหะ 7 ชนิด ดังนี้

การผลิตเครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม ผู้ผลิตเครื่องจักรกล จะทำหน้าที่เพียงออกแบบและประกอบตัวเครื่องจักรเท่านั้น ชิ้นส่วนของเครื่องจักรจะถูกผลิตโดยผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ

เครื่องจักรกล สามารถแยกออกแบบได้เป็นตามประเภท และจัดหมวดหมู่ของลักษณะของการทำงาน     ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะทำการออกแบบเครื่องจักรมาเป็นอย่างดี ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ แข็งแรงและทนทานท หรือทำการดูแลรักษาซ่อมบำรุงอย่างดีที่สุดแล้ว เครื่องจักรก็ยังคงเกิดการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาได้อยู่ดี ซึ่งเราสามารถแบ่งการเสื่อมสภาพออกเป็น 2 แบบ คือ

ข้อดี - เราสามารถใช้ประโยชน์ของเครื่องจักรได้อย่างคุ้มค่า จนหมดอายุการใช้งาน - ไม่ต้องเสียเวลาในการวางแผนบำรุงรักษา - สามารถลดจำนวนพนักงานลงได้

การบำรุงรักษาแบบแก้ไขปรับปรุง จะดำเนินการก็ต่อเมื่อเครื่องจักรเกิดการชำรุดเสียหายครั้งใหญ่ ทำให้ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อทำการซ่อมแซม โดยฝ่ายซ่อมบำรุงจะเป็นผู้รับภาระในการดำเนินการ

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบํารุงรักษาแบบแก้ไขปรับปรุงประกอบด้วย - ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าจ้างแรงงานในการซ่อมแซมเครื่องจักร - การผลิตที่หายไป - ยอดขายที่หายไป

การบำรุงรักษาเครื่องจักรทางอ้อม สามารถทำได้โดย ใช้ประสาทสัมผัส ใช้ความรู้สึก ประสบการณ์ที่สั่งสมของบุคลากรผู้ชำนาญงาน ใช้อุปกรณ์ ตัวชี้วัดต่างๆ

การบํารุงรักษาเครื่องจักร แบบแก้ไขชนิดไม่มีแบบแผน (Unplanned corrective maintenance) การบำรุงรักษาแก้ไขชนิดไม่มีแบบแผนคือ การบำรุงรักษาในกรณีฉุกเฉิน ที่เกิดความเสียหายอย่างไม่คาดคิดมาก่อน

หมายถึงการบำรุงรักษาหลังจากที่เครื่องจักรเกิดความเสียหาย ทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ให้เครื่องจักรมีสมรรถนะที่สูงขึ้น ทำให้เครื่องจักรมีกำลังผลิตมากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น

การบำรุงรักษาเป็นประจำ (Routine Mentenance) เป็นการดำเนินการตรวจสอบเครื่องจักรตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น การตรวจสอบประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือประจำปี โดยพนักงานฝ่ายผลิตที่เป็นผู้ใช้งานเครื่องจักร

1. การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง เป็นการบำรุงรักษาฉุกเฉิน เมื่อเครื่องจักรเกิดเสียหรือชำรุด 2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน  เป็นการบำรุงรักษาก่อนที่เครื่องจักรจะมีการชำรุดเสียหาย ขัดข้อง

เราสามารถแบ่งการปฏิบัติการบำรุงรักษาได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การบำรุงรักษาตามแผน 2. การบำรุงรักษานอกแผน

จุดมุ่งหมายของการบำรุงรักษาเครื่องจักร มีด้วยกัน 6 ข้อ ดังนี้

การบำรุงรักษา หมายถึง การกระทำใดๆ เกี่ยวกับ เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรักษาสภาพให้อยู่ในลักษณะพร้อมใช้งานตลอดเวลา พร้อมทั้งป้องกันเหตุที่อาจเกิดการชำรุด เสียหาย รวมทั้งการทำให้ เครื่องจักรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นและเต็มประสิทธิภาพ และสูญเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

ลักษณะของเครื่องจักรกลที่มีคุณภาพ 1. มีการออกแบบที่ดี 2. ใช้วัสดุที่แข็งแรง 3. เครื่องจักรที่ใช้ ควรมีการคำนึงถึงตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้ง 4. สามารถใช้งานได้เต็มกำลัง 5. มีการบำรุงรักษาที่ดี

ประเภทของเครื่องจักร สามารถแบ่งตามลักษณะของพลังงานที่ใช้ ได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1. เครื่องต้นกำลัง 2. เครื่องส่งกำลัง 3. เครื่องจักรทำการผลิต

ประเภทของอุตสาหกรรมเครื่องจักร มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

ครื่องจักรกล นับว่ามีความสำคัญในงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เป็นปัจจัยพื้นฐานในขั้นตอนการผลิต เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และการทำงานที่ราบรื่น มีประสิทธิภาพ

เครื่องจักร หมายถึง เครื่องมือที่ประกอบขึ้นมาด้วยชิ้นส่วนหลากหลาย ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานอย่างเฉพาะเจาะจง เป็นอุปกรณ์ที่มีพลังงานขับเคลื่อน ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่ง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้