ชนิดของการบำรุงรักษาเครื่องจักรกล

Last updated: 23 มี.ค. 2564  |  1129 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ชนิดของการบำรุงรักษาเครื่องจักรกล

  1. การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง เป็นการบำรุงรักษาฉุกเฉิน เมื่อเครื่องจักรเกิดเสียหรือชำรุด เป็นวิธีการบำรุงรักษาแบบดั้งเดิม เมื่อครั้งยังไม่มีการวางแผน เป็นวิธีการบำรุงรักษาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะมีการวางแผนป้องกันไว้อย่างดีแล้วก็ตาม โดยบุคลากรจะยังไม่มีการปฏิบัติงาน จนกว่าจะเกิดการชำรุดเสียหาย จึงเข้าดำเนินการซ่อมแซม ซึ่งสามารถใช้ได้ดีกับเครื่องจักรที่มีการทำงานไม่ซับซ้อนสามารถซ่อมแซมได้ง่าย หรือเครื่องจักรที่มีอะไหล่เตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว เมื่อเกิดการเสียหายแล้วจึงค่อยเปลี่ยน และควรเป็นวิธีที่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีอื่นๆ

    ข้อดี
    - สามารถใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ ได้เต็มอายุการใช้งาน
    - ไม่ต้องสูญเสียเวลาและบุคลากรในการวางแผน

    ข้อเสีย
    - สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง
    - เพื่อให้เครื่องจักรกลับมาใช้งานได้อย่างเร็วที่สุด บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ต้องทำงานแข่งกับเวลาและความกดดัน ต้องใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสูง ซึ่งอาจขาดคุณภาพและความแม่นยำในการทำงาน
    - ไม่สามารถหาชิ้นส่วนอะไหล่มาใช้งานได้อย่างทันเวลา
    - ในบางครั้งอาจมีบุคลากรไม่เพียงพอในการซ่อมแซมเครื่องจักร หากมีการชำรุดเสียหายหลายจุดพร้อมๆ กัน
    - ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าใดๆ และไม่สามารถให้คำรับรองได้ว่า เครื่องจักรจะสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างปกติเมื่อใด
    - ต้องสต๊อกอะไหล่ไว้หลายชนิด และจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา
    - มักไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการซ่อมแซมตามที่วางแผนไว้ได้

  2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน  เป็นการบำรุงรักษาก่อนที่เครื่องจักรจะมีการชำรุดเสียหาย ขัดข้อง หยุดการทำงาน หรือไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ โดยทำการตรวจสภาพของเครื่องจักรตามเวลาที่ได้กำหนดไว้ เช่น การใช้น้ำมันหล่อลื่น การเช็คน็อตสกรู การทำความสะอาด หรือการ ถอดเปลี่ยนอะไหล่ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการตรวจเช็คตามรอบอย่างสม่ำเสมอ เน้นการดูแลป้องกันเครื่องจักรก่อนที่จะเกิดความเสียหาย อาจทำตามคู่มือการใช้งานของเครื่องจักรชนิดนั้นๆ หรือใช้ความรู้ความสามารถของบุคลากรในการวางแผนกำหนดระยะเวลาและวิธีการตรวจสอบก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องจักรอาจมีการชำรุดเสียหายโดยไม่คาดคิดอยู่เสมอ ถึงแม้จะมีการวางแผนและดำเนินการตรวจสอบล่วงหน้าอย่างดีแล้วก็ตามการบำรุงรักษาเชิงป้องกันนี้ ได้พัฒนามาจากการบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุ โดยจะไม่รอให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายเสียก่อน แล้วจึงทำการซ่อมแซม

    ข้อดี
    - สามารถกำหนดระยะเวลาการหยุดพักงาน หรือหยุดการใช้เครื่องจักร เพื่อทำการซ่อมบำรุงได้
    - ลดการบกพร่องของผลงาน และความเสียหายของต้นทุนผลิตภัณฑ์
    - สามารถกำหนดแผนงานได้อย่างมีมาตรฐาน แสดงถึงความเป็นมืออาชีพ
    - มีความมั่นใจในสภาพเครื่องจักร สามารถทำงานได้อย่างเชื่อมั่น บนพื้นฐานของความปลอดภัย
    - ลดการเเสียเวลาในการทำงาน หากต้องมีการหยุดเครื่องจักรกระทันหัน

    ข้อเสีย
    - สิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่าย ในการใช้บุคลากรในการวางแผนการดำเนินงาน เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการกำหนดระยะเวลาและแนวทางในการซ่อมบำรุง
    - ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์อาจผิดพลาด ไม่ตรงกับความเป็นจริง
    - การเปลี่ยนอะไหล่เครื่องจักรตามกำหนดระยะเวลา อาจเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ถ้าหากอะไหล่นั้นๆ สามารถใช้งานได้ยาวนานต่อไปอีก และไม่สามารถทราบอายุการใช้งานจริงของอะไหล่หรืออุปกรณ์นั้นๆ ได้
    การบำรุงรักษาชนิดนี้ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 แบบ คือ
    1. การบำรุงรักษาตามระยะเวลา เป็นการบำรุงรักษาภายในระยะเวลาที่กำหนดตามรอบ เช่นการ ทำความสะอาดเครื่องจักร เปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ เป็นต้น หรือการกระทำใดๆ ก็ตามที่ป้องกันการเสียหายอย่างฉับพลันที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องจักร
    2. การบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ คือการให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพของชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของเครื่องจักรในการใช้งานจริง ผ่านการวิเคราะห์ วิจัย เพื่อให้อุปกรณ์นั้นๆ สามารถทำงานได้อย่างเต็มกำลังและเต็มอายุการใช้งาน

  3. การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง  เป็นการซ่อมแซม เปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร ชิ้นส่วน อะไหล่ หรืออุปกรณ์ ให้เปลี่ยนไปเพื่อแก้ไขการชำรุดเสียหายให้หมดไปโดยสิ้นเชิง เป็นการอัพเกรดเครื่องจักรให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น สามารถผลิตสินค้าด้วยคุณภาพที่สูงขึ้น และจำนวนที่มากขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพและความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร

  4. การป้องกันเพื่อบำรุงรักษา เป็นการดำเนินการใดๆ ก็ตามที่จะทำให้เครื่องจักร ไม่เกิดการชำรุดเสียหายและไม่ต้องซ่อมแซมอีกต่อไป หรือจำเป็นต้องซ่อมแซมให้น้อยที่สุด โดยทำการออกแบบให้เครื่องจักรมีความทนทาน สามารถใช้งานได้อย่างสมราคา

  5. การบำรุงรักษาทวีผล เป็นการบำรุงรักษาที่รวมรวมเอาวิธีการทั้งหมดที่กล่าวมาในข้างต้น มาประยุกต์ดัดแปลงให้ก่อเกิดผลงานและประโยชน์สูงสุด

  6. การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม เป็นการบำรุงรักษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นพนักงานในฝ่ายใดก็ตาม ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายซ่อมบำรุง ฯลฯ เน้นการวางแผน ร่วมมือกันป้องกัน ดูแลรักษาเครื่องจักรไม่ให้เกิดความเสียหาย

 

สนใจ สินเชื่อสำหรับเจ้าของกิจการ ติดต่อ
คุณพรเทพ 093-601-5499
คุณธัญญ์ 098-652-2290
ไลน์ไอดี @9longtoon

รับปรึกษาทางการเงิน 24 ชั่วโมง โทรมาเลยนะคะ ไม่ต้องเกรงใจ
“รับเงินสดทันที ไม่มีต้องรอนาน เต็มวงเงินกู้”

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้